ห้องวัฒนธรรมเครื่องประทีป

        ห้องวัฒนธรรมเครื่องประทีป จัดแสดงเรื่องราวของวัฒนธรรมการใช้เครื่องประทีป หรือเครื่อง ตามไฟ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วในสมัยก่อนจะเป็นการจุดไฟจากไขที่ได้จากพืชหรือสัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติจนกระทั่งมีการรู้จักใช้น้ำมันในการจุดไฟเพื่อให้แสงสว่างจนกระทั่งเป็นหลอดไฟฟ้าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

        เหล็กไฟตบ เป็นตัวอย่างของเครื่องมือสำหรับจุดไฟ ทำด้วยเขาควายหรือไม้เนื้อแข็ง กลึงเป็นแท่งกลม ๆ ข้างในกลวงคล้ายตะบันหมาก และลูกอัด หรือลูกตะบัน โดยใช้การอัดอากาศด้วยลูกตะบันให้อากาศที่อยู่ภายในระเบิด เกิดเป็นประกายไฟติดเชื่อไฟซึ่งทำจากปุยนุ่น ขุยต้นเต่าร้าง ซึ่งติดอยู่ที่ปลายก้านลูกตะบันไต้ ทำด้วยไม้ผุๆ หรือเปลือกไม้เสม็ดคลุกกับน้ำมันยาง แล้วห่อด้วยใบไม้แห้งให้เป็นแท่งยาวๆ หรือใส่ในกระบอก ในสมัยก่อนใช้สำหรับจุดให้แสงสว่างและใช้เป็นเชื่อไฟเมื่อต้องการก่อไฟ



        นอกจากนี้ยังได้จัดแสดงให้เห็นถึงเครื่องตามประทีปประเภทต่างๆ ที่มีพัฒนาการขึ้นตามรูปแบบ และวัสดุที่นำมาใช้ โดยมีทั้งแบบที่ทำอย่างประณีต บรรจงตกแต่งอย่างวิจิตร และแบบที่ทำขึ้นโดยใช้วัสดุเหลือใช้ เช่น ขวด กระป๋อง หรือวัสดุอื่นๆ เช่น ทองเหลือง อลูมิเนียม สังกะสี ดินเผา เครื่องเคลือบแก้ว เป็นต้น ส่วนเชื้อเพลิงที่นำมาใช้นั้นมีทั้ง น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าด ได้แก่ ตะเกียง ไข่เป็ดตะเกียงคางคกหรือตะเกียงกระป๋อง ตะเกียงกล้องตะเกียงขวด ตะเกียงโตรม ตะคันดินเผา ตะเกียงน้ำมันมะพร้าว ตะเกียงชวาลา ตะเกียงแสงจันทร์แบบโคม ตะเกียงพารา ไฟแช็ก ตะเกียงรั่ว ตะเกียงโป๊ะเทียนไข ตะเกียงเจ้าพายุ ตะเกียงกลีบบัว ตะเกียงกรีดยาง ตะเกียงแก้ส ตะเกียงโคลีแมน ตะเกียงทิลเลย์ ตะเกียงเรือ ตะเกียงลายคราม ซึ่งจะเห็นได้ว่า การเรียกชื่อตะเกียงเหล่านี้มักเรียกตามรูปแบบหรือลักษณะหรือการตกแต่ง แต่ก็ล้วนที่มีหน้าที่การใช้งานที่เหมือนกันคือ เป็นเครื่องให้แสงสว่างเป็นสำคัญ